วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552


รมว.ศึกษาธิการ มอบหมาย ก.ค.ศ. พิจารณาทบทวนการการคัดเลือกครูทั้งระบบ พร้อมขู่เชือดวินัยร้ายแรงโกงเลือกตั้งผู้แทนครู กกต.ศธ.แฉวิ่งรอกฮั้วสมัคร …

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยผลประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ว่า ได้มอบให้สำนักงาน ก.ค.ศ. กลับไปพิจารณาทบทวนกระบวนการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการครูทั้งระบบ ได้แก่ 1. การสอบคัดเลือก ที่ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) แต่ละแห่งออกข้อสอบเอง ซึ่งจะมีถึง 185 มาตรฐาน ควรมีการปรับปรุงให้เป็นมาตรฐานเดียวกันหรือไม่ 2. การเปิดโอกาสให้พนักงานราชการบรรจุเป็นข้าราชการครู ชดเชยอัตราผู้เกษียณอายุราชการในสัดส่วน 25% ควรมีการปรับสัดส่วนหรือไม่ และ 3. โครงการครูพันธุ์ใหม่มีความเหมาะสมหรือยัง ควรปรับปรุงใหม่หรือไม่ เพื่อให้ได้คนเก่ง คนดี และมีประสบการณ์มาบรรจุเป็นข้าราชการครูได้ตามวัตถุประสงค์มากขึ้น โดยให้เสนอเรื่องนี้ในการประชุมครั้งหน้า สำหรับข้อห่วงใยปัญหาเด็กฝากบรรจุเป็นข้าราชการครูนั้น ตนเชื่อว่าหากกระบวนการมีความเข้มแข็งและแม่นยำ เรื่องการ ฝากเด็กคงเป็นเรื่องยาก

รมว.ศึกษาธิการกล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังได้ พิจารณาการเลือกตั้งผู้แทนใน คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขต พื้นที่การศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.ส่วนราชการ ที่ต้องให้เป็น ไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม โดยที่ประชุมเน้นย้ำว่า หากพบมีปัญหาใดเกิดขึ้นให้รีบรวบรวมและพิจารณาให้ทันท่วงที  ทั้งนี้  คณะกรรมการชุดดังกล่าว และ ก.ค.ศ. จะใช้มาตรา 93 ของ พ.ร.บ.ครูและบุคลากร ทางการศึกษา ในการกำกับดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม  โดยหากครูและบุคลากรทาง การศึกษาคนใดเข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินการอันเป็นการทุจริต จะถือว่ามีความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

ด้านนายสุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานคณะกรรมการ ติดตามดูแลการสรรหา และการเลือกตั้งฯ หรือ กกต.ศธ. กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มมีเรื่องร้องเรียนเพิ่มขึ้นหลังจากเปิดรับสมัคร โดยมีผู้สมัครหลายคนวิ่งรอกไปยื่นสมัครเป็นผู้แทนครูมากกว่าหนึ่งเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งแม้จะมีสิทธิ์แต่โดยมารยาทแล้วไม่ควรทำ และยังพบว่ามีผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้แทน ก.ค.ศ.1 ในจำนวน 3 คน ที่ สพท.คัดเลือกให้ ก.ค.ศ.พิจารณามาสมัครเป็นผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ทั้ง 2 กรณีนี้คงต้องตรวจสอบคุณสมบัติว่าเป็นไปตามกำหนดหรือไม่.

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552





สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔(จีน鄭昭พินอินZhèng Zhāoแต้จิ๋ว: Dênchao) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกและพระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี มีพระนามเดิมว่า "สิน" ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันพุธ เดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๕ ปี (รวมกับระยะเวลาที่กอบกู้เอกราชอีก ๑ ปี) เสด็จสวรรคตในวันพุธ แรม ๑๓ ค่ำเดือน ๕ จ.ศ. ๑๑๔๔ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ รวมสิริพระชนมมายุ ๔๘ พรรษา

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ ได้แก่ การกอบกู้เอกราชจากพม่า และการทำสงครามตลอดรัชสมัยเพื่อรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น และขับไล่พม่าออกจากราชอาณาจักร นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูความเจริญประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคม ได้มีการติดต่อค้าขายกับประเทศต่างๆ เช่น จีน อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ฯลฯ โปรดฯ ให้มีการสร้างถนนและขุดคลอง เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคม นอกจากนั้นยังทรงส่งเสริมทางด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและวรรณกรรม

เนื่องจากพระองค์ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อแผ่นดินไทยเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ ๒๘ ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันที่ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ให้เป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" นอกจากนั้นคณะรัฐมนตรียังมีมติให้ถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"[4]พระราชสมภพ

พระบรมสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจากจินตนาการของศิลปิน

จดหมายเหตุโหร บันทึกว่าวันเสด็จสวรรคตตรงกับพุธแรม ๑๓ ค่ำเดือน ๕ ปีขาล ยังเปน ตรีศก จ.ศ.1143 พระชนมายุ ๔๗ ปีกับ ๑๕ วัน ดังนั้นย้อนกลับไปตามปฏิทินจันทรคติแห่งชาติเทียบปฏิทินสุริยคติสากล จึงพบว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีเถาะ ยังเปนฉศก จุลศักราช ๑๐๙๖ ซึ่งตรงกับวันอังคารที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๘ เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

พระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีขณะทรงผนวช

มีหนังสือพงศาวดารได้กล่าวไว้ว่า ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีชาวจีนแต้จิ๋วคนหนึ่งนามว่า ไหฮอง[5] (ในหนังสือการเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ระบุว่า "ไหฮอง" ไม่ใช่ชื่อบุคคล แต่เป็นชื่อตำบลในมณฑลกวางตุ้ง) ได้เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย[6] มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพัฒ ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้บ้านของเจ้าพระยาจักรี สมุหนายก ครั้นเวลาล่วงมาถึง ๕ ปีขาล พ.ศ. ๒๒๗๗ ขุนพัฒมีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ หยง[7] เกิดแต่ นางนกเอี้ยงซึ่งเป็นชาวไทย[8]

ทารกคนนี้คลอดได้ ๓ วัน มีงูเหลือมใหญ่เลื้อยเข้าไปขดรอบตัวทารก เป็นทักขิณาวัฏ ขุนพัฒผู้เป็นบิดาเกรงว่าเรื่องนี้อาจลางร้ายแก่สกุล จึงยกบุตรคนนี้ให้แก่เจ้าพระยาจักรี[9] แล้วเจ้าพระยาจักรีได้เลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม และตั้งแต่เจ้าพระยาจักรีได้เด็กน้อยคนนี้มา ลาภผลก็เกิดมากมูลพูนเพิ่มมั่งคั่งขึ้นแต่ก่อน เจ้าพระยาจักรีจึงกำหนดเอาเหตุนี้ขนานนามให้ว่า สิน

จากหลักฐานที่อาลักษณ์ของจีนจดบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารวงเช็ง แผ่นดินพระเจ้าเฉียนหลง กล่าวถึงพระราชประวัติของพระองค์ไว้ว่า "บิดาเจิ้งเป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง ไปทำมาค้าขายอยู่ที่เสียมล่อก๊ก และเกิดเจิ้งเจาที่นั่น เมื่อเจิ้งเจาเติบใหญ่ เป็นผู้มีความสามารถ ได้เข้ารับราชการอยู่ในเสียมล่อก๊ก เมื่อเจิ้งเจารบชนะพม่า ฯ แล้ว ราษฎรทั่วประเทศยกขึ้นเป็นเจ้าครองประเทศ..." [10] ("เจิ้งเจา"คือสมเด็จพระเจ้าตากสิน ออกเสียงตามสำเนียงปักกิ่ง ถ้าเป็นแต้จิ๋วออกเสียงว่า"แต้เจียว" ส่วน"เสียมล่อก๊ก"นั้น หมายถึงประเทศไทย)

[แก้]เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์

ครั้นเมื่อเด็กชายสิน อายุได้ ๙ ขวบ เจ้าพระยาจักรีนำเข้าฝากให้เล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส[11] ต่อมาได้เข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี เจ้าพระยาจักรีได้จัดงานมงคลตัดจุกนายสิน เป็นการเอิกเกริกและในระหว่างนั้น มีผึ้งหลวงมาจับที่เพดานเบญจารดน้ำปรากฏอยู่ถึง ๗ วันจึงหนีไป และในระหว่างนี้ นายสินได้พยายามศึกษาหาความรู้ในภาษาต่างประเทศ มี ภาษาจีน ภาษาญวน และภาษาแขก จนสามารถพูดคล่องได้ทั้ง ๓ ภาษา และยังได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทย ขอม และคัมภีร์พระไตรปิฎก

วันหนึ่ง นายสินคิดตั้งตนเป็นเจ้ามือบ่อนถั่ว ชักชวนบรรดาศิษย์วัดเล่นการพนัน พระอาจารย์ทองดีทราบเรื่องจึงลงโทษทุกคน โดยเฉพาะนายสินเป็นเจ้ามือถูกลงโทษหนักกว่าคนอื่น และให้มัดมือคร่อมกับบันไดท่าน้ำประจานให้เข็ดหลาบ นายสินถูกมัดแช่น้ำตั้งแต่เวลาพลบค่ำ พอดีเป็นช่วงเวลาน้ำขึ้น พระอาจารย์ทองดีไปสวดพระพุทธมนต์ลืมนายสิน จนประมาณยามเศษ พระอาจารย์นึกขึ้นได้จึงให้พระภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นอันเตวาสิก ช่วยกันจุดไต้ค้นหาก็พบนายสินอยู่ริมตลิ่ง มือยังผูกมัดติดอยู่กับบันได แต่ตัวบันไดกลับหลุดถอนขึ้นมาได้อย่างอัศจรรย์ เมื่อพระภิกษุสงฆ์ช่วยกันแก้มัดนายสินแล้ว พระอาจารย์ทองดีจึงพาตัวนายสินไปยังอุโบสถให้นั่งลงท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์ แล้วพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายสวดพระพุทธมนต์ด้วยชัยมงคลคาถาเป็นการรับขวัญ[12]

[แก้]ทรงผนวช

ต่อมาเมื่อนายสินเรียนจบการศึกษา เจ้าพระยาจักรีก็ได้นำไปถวายตัวรับราชการภายใต้หลวงนายศักดิ์นายเวร ภายหลังเป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์จนมีอายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ เจ้าพระยาจักรีได้จัดการอุปสมบทเป็นพระภิกษุให้ โดยได้อุปสมบทอยู่กับอาจารย์ทองดี ณ วัดโกษาวาส และบวชอยู่นานถึง ๓ พรรษา ในระหว่างอุปสมบทพระภิกษุสินได้ออกบิณฑบาตพร้อมกับพระภิกษุทองด้วงเป็นประจำ เพราะรับราชการเป็นมหาดเล็กทำงานด้วยกันมาหลายปี ทั้งสองมีความรักใคร่กลมเกลียวกันมาก ได้อุปสมบทพร้อมกัน เช้าวันหนึ่งพระภิกษุทั้งสองเดินไปตามถนน เพื่อรับบิณฑบาตจากพระราชวังหลวง มีชายจีนผู้หนึ่งเดินผ่านพระภิกษุทั้งสองไปได้ ๓-๔ ก้าว ก็หยุดชะงักหันกลับมาดูแล้วก็หัวเราะ ทำเช่นนี้ถึง ๕-๖ ครั้ง สองภิกษุมองหน้าแล้วถามว่าหัวเราะเรื่องอะไร ชายจีนผู้นั้นบอกว่าตนเป็นซินแสหมอดู สามารถทายลักษณะของบุรุษหรือสตรีได้ แล้วทำนายให้พระภิกษุทั้ง ๒ องค์ว่า[13]

ซินแสทายพระภิกษุองค์ที่ ๑

ชายใดไกรลักษณ์พร้อมเพราองค์
ศักดิ์กษัตร์ถนัดทรงส่อชี้
สมบัติขัติยมงคลครอบ ครองแฮ
ชายนั้นคือท่านนี้แน่ข้าพยากรณ์ฯ

ซินแสทายพระภิกษุองค์ที่ ๒

ท่านเป็นบุรุษต้องตามลักษณ์ ล้วนแล
บุญเด่นเห็นประจักษ์เจิดกล้า
จักสู่ประภูศักดิ์สุรกษัตร์
สืบศุภวงษ์ทรงหล้าสฤษฎ์เลี้ยง เวียงสยาม
เกิดมาข้าพเจ้าไม่เคยเห็น
สองสหายหลายประเด็นเด่นชี้
ภายหน้าว่าจักเป็นปิ่นกษัตร์
นั่งอยู่ คู่กันฉนี้แน่ล้วน ชวนหัว

สองภิกษุว่า

สองข้าอายุใกล้เคียงกัน
ทั้งคู่จะทรงขัณฑ์ผิดเค้า
เป็นกษัตร์ร่วมรัฐบัลลังก์ร่วม ไฉนนอ
เห็นจะสัดตวงข้าวแน่แท้คำทายฯ

[แก้]เข้ารับราชการและการกอบกู้เอกราช

แล้วจึงลาสิกขาบทออกมารับราชการใหม่ ในตำแหน่งมหาดเล็กรายงาน ครั้นถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งเป็น หลวงยกกระบัตร ไปรับราชการอยู่ที่เมืองตาก [14]เมื่อเจ้าเมืองตากถึงแก่อนิจกรรม ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หลวงยกกระบัตรเป็นพระยาตาก

ต่อมาเมื่อมีข้าศึกพม่ามาล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาตากก็ได้ถูกเรียกตัวให้ลงมาช่วยงานราชการในกรุงศรีอยุธยา พระยาตากทำการสู้รบกับข้าศึกด้วยความเข้มแข็งสามารถยิ่ง มีบำเหน็จความชอบในสงคราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระยาวชิรปราการ ผู้สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรแต่ยังมิได้ขึ้นไปปกครองเมืองกำแพงเพชร เพราะติดราชการสงครามกับพม่าอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๙ เสียก่อน [15]

พ.ศ. ๒๓๑๐ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พระยาวชิรปราการก็รวบรวมคนไปตั้งเป็นชุมนุมพระเจ้าตากที่เมืองจันทบูร [16] และมากอบกู้เอกราช และสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ กรุงธนบุรี [17]

[แก้]ปราบดาภิเษก

ดูเพิ่มที่ อาณาจักรธนบุรี

ภายหลังจากที่สร้างพระราชวังกรุงธนบุรีเสร็จสิ้นแล้ว ทรงจัดการบ้านเมืองให้อยู่ในความสงบเรียบร้อยพอสมควร บรรดาแม่ทัพ นายกอง ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดทั้งสมณะพราหมณาจารย์และอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลาย จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นทรงปราบดาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันพุธ เดือนอ้าย แรก ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ตอนแรกพระองค์ทรงคิดที่จะปฏิสังขรณ์พระนครศรีอยุธยาให้กลับคืนเป็นดังเดิม[18] แต่แล้วหลังจากตรวจดูความพินาศของเมือง ทรงเล็งเห็นว่าสภาพบ้านเมืองในขณะนั้นอยู่ในสภาพเสียหายยับเยินมาก เกินกว่ากำลังความสามารถที่มีอยู่ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อพยพผู้คนและทรัพย์สินลงมาทางใต้ และตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรี เรียกนามว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร

ปรากฏว่าที่เมืองลพบุรี มีพระบรมวงศานุวงศ์ของราชวงศ์อยุธยามาพำนักอยู่เป็นจำนวนมาก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงรับสั่งให้คนไปอัญเชิญมายังเมืองธนบุรี พระองค์ทรงขุดพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ขึ้นมาถวายพระเพลิงตามโบราณราชประเพณี[19][20]

[แก้]ปลายรัชสมัย

ในตอนปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เกิดกบฏขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา พวกกบฎได้ปล้นจนพระยาอินทรอภัย ผู้รักษากรุงเก่าจนต้องหลบหนีมายังกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีรับสั่งให้พระยาสรรค์ขึ้นไปสืบสวนเอาตัวคนผิดมาลงโทษ แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้ากับพวกกบฎ และยกพวกมาปล้นพระราชวังที่กรุงธนบุรีในวันแรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ตรงกับวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๒๔ บังคับให้สมเด็จพระเจ้าตากสินออกผนวช และคุมพระองค์ไว้ที่พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม แล้วพระยาสรรค์ได้ตั้งตนเป็นพระเจ้าแผ่นดิน[21]

เหตุการณ์ภายหลังจากนั้นไม่แน่ชัด โดยมีความเชื่อหลายประการด้วยกัน

สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) และเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ซึ่งไปราชการทัพเมืองเขมร และยกกำลังเข้าตีเมืองเสียมราฐ เมื่อทราบข่าวการจลาจลในกรุงธนบุรี จึงได้รีบยกทัพกลับ ขณะนั้นเป็นเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกมาถึงในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ ก็ได้สืบสวนเรื่องราวความวุ่นวายที่เกิดขึ้น และจับกุมผู้ก่อการกบฎมาลงโทษ รวมทั้งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณาความที่มีผู้ฟ้องร้อง กล่าวโทษว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเป็นต้นเหตุ เนื่องจากพระองค์ทรงเสียพระสติไป[22] เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงถูกสำเร็จโทษและเสด็จสวรรคต ในวันพุธ แรม 13 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล แต่ยังเป็นตรีศก จ.ศ.1143 หรือตรงกับวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เมื่อพระชนมพรรษาได้ ๔๗ พรรษากับ ๑๕ วัน (ตามประชุมพระราชพงศาวดารภาค 8 จดหมายเหตุโหร) พระองค์พระราชสมภพและสวรรคตในเดือนเดียวกัน

แต่บางฉบับก็บอกว่าเป็นวันเดียวกัน ซึ่งยังไม่มีใครทราบเป็นที่แน่ชัด นักประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ได้ถูกสำเร็จโทษ แต่ทรงจงใจสละราชบัลลังก์เพื่อจะได้มิต้องชำระเงินกู้จากจีน เมื่อทรงได้รับการปล่อยตัวอย่างลับ ๆ แล้วจึงเสด็จลงเรือสำเภาไปประทับที่เขาขุนพนม จังหวัดนครศรีธรรมราช[23] เสด็จสวรรคตที่นั่นในปี พ.ศ. ๒๓๖๘[24][25] งานเขียนสำคัญที่กล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงปลายรัชสมัย แตกต่างจากในพระราชพงศาวดาร ที่มีชื่อเสียงเช่น เรื่องสั้นชุด ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน โดย หลวงวิจิตรวาทการ และ นวนิยาย ผู้อยู่เหนือเงื่อนไข? โดย สุภา ศิริมานนท์

ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ตาก


ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้ และป่างาม

เมืองตาก เป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง มีชื่อเดิมว่า “เมืองระแหง” ในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอาศัยอยู่มาก่อน ดังมีหลักฐานศิลปะมอญปรากฏอยู่ ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านตาก เมืองนี้สร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเป็น ราชธานี เมื่อได้สถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแล้ว เมืองตากมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญด้านฝั่งตะวันตก และยังเป็นเมืองที่มีความเกี่ยวข้องกับพระมหาราชในอดีตถึง ๔ พระองค์ ที่เสด็จมาชุมนุมกองทัพ ณ ดินแดนเมืองตากแห่งนี้ ได้แก่ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายตัวเมืองตากจากฝั่งขวา ของแม่น้ำปิงมายังฝั่งซ้ายบริเวณตำบลบ้านระแหงจนกระทั่งทุกวันนี้ 
ตาก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๔๒๖ กิโลเมตร มีเนื้อที่ ๑๐,๒๕๔,๑๕๖ ไร่ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็น ภูเขา และป่าไม้ เป็นจังหวัดที่มีอุทยานแห่งชาติหลายแห่งที่ยังคงความสมบูรณ์ของป่า และธรรมชาติ อาทิ อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช อุทยานแห่งชาติแม่เมย อุทยานแห่งชาติลานสาง และอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ตลอดจนมีน้ำตกที่ นักท่องเที่ยวผู้รักการผจญภัย และนิยมการล่องแก่งต้องมาเยือนสักครั้ง คือ น้ำตกทีลอซู และน้ำตกทีลอเร นอกจากความสวยงามตามธรรมชาติแล้ว ยังเป็นจังหวัดที่มีผลผลิตทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อทั้งดอกไม้ และผลไม้ โดยเฉพาะทับทิม ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีผลใหญ่ และกำลังได้รับความนิยมมาก 
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง 
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ กำแพงเพชร และกาญจนบุรี 
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัย 
ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพพม่า โดยมีแม่น้ำเมย และทิวเขาถนนธงชัยเป็นพรมแดน